สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

กำจัดและป้องกัน โรครากเน่า โคนเน่า ด้วย ไตรซาน

กำจัดและป้องกัน โรครากเน่า โคนเน่า ด้วย ไตรซาน

การแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่า

ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีความชื้นสูง ทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย เป็นบ่อเกิดให้จุลินทรีย์ร้ายต่าง ๆ ที่อยู่ในดินเจริญเติบโตแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ได้ดี และเร็ว สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟท้อป โธร่า เชื้อราโรคพืชกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในดินปกติอยู่แล้ว มันรอเวลาที่ต้นไม้หรือพืชที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟท้อป โธร่าก็จะเข้าทำลาย ต้นไม้ที่เกิดโรครากเน่าจะสังเกตเห็นได้ว่าใบจะมีสีเหลืองซีดและผิวใบแห้งผิดปกติ มีลักษณะเขียวม้วนงอเมื่อโดนแดดจัดในเวลากลางวัน หรือใบเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ในไม่ช้าใบจะร่วงกิ่งแห้งตาย ผลจะมีสีเหลืองร่วงหล่นง่าย ส่วนอาการที่โคนต้นจะมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำเหมือนมีน้ำเยิ้มไหลออกมา เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม และเมื่อขุดดูที่รากจะพบว่ารากฝอยเน่าถอดปลอกมีกลิ่นเหม็น รากใหญ่จะเน่าเปื่อยและยุ่ยง่าย ถ้าเป็นมากอาจจะทำ ให้ต้นไม้จะยืนต้นตายในเวลาอันรวดเร็ว

สเคลอโรเตียม รอฟซิไอ พิเทียม, ฟิวซาเรียม, ไฟทอฟเทอร่า, ไรซอกโทเนีย ได้แก่ โรคใบจุด โรคกล้าเน่า-ยุบตาย โรคโคนเน่า โรคปื้นเหลือง โรคแอนแทรคโนส โรคพวกนี้ เป็นโรคสาเหตุจากเชื้อราทั้งสิ้น

หลายๆท่านอาจจะ เคยเจอเคยได้ยิน วิธีที่ผมใช้ คือผมใช้เชื่อรา ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ใช้ถูกต้องไหม ใช้แบบไหน ใช้ยังไง และใช้ช่วงไหน แล้ว หาจากแหล่งไหนที่ไหนดี เพราะการใช้เชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม นั้น มีเทคนิคและวิธีการใช้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมและลักษณะการป้องกัน

การใช้ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ผมสามารถ เปิดคอร์สอบรมได้เป็น ช.ม. แต่มาอธิบายในนี้ผมจะใช้แบบรวบรัดนิดหนึงนะครับ

ผมจะแนะนำ หัวใจการทำงานของ เชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม แล้วแต่ละท่านนำไปประยุคย์ใช้ตามรูปแบบกันเองนะครับ

กลไกออกฤทธิ์ของ ไตรโคเดอมาร์ ฮาร์เซียนั่ม 
1). เจริญแข่งขันแย่งพื้นที่
2). พันรัดเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
3). แทงทะลุเข้าไปในเส้นใยเชื้อรา สาเหตุโรคพืช

ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม มีหลายรูปแบบ บางท่านใช้ได้ผลดี บางท่านใช้ไม่ได้ผล เรามาดูสาเหตุกัน

ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ที่มีให้หาเลือกใช้ตามท้องตลาด
1.แบบหัวเชื้อมาหมักเอง
2.แบบสำเร็จพร้อมใช้ แค่ใช้น้ำเปล่าหมัก
3.แบบราชการแจก
4.แบบพร้อมใช้ใส่น้ำละลายแล้วใช้ได้ทันที

ทีนี้มาดูมันต่างกันยังไง ข้อดีข้อเสีย

แบบที่ 1. แบบหัวเชื้อมาหมักเอง
ข้อดีคือ 
- ถูกประหยัด
ข้อเสียคือ
1.การหมัก ใช้เวลาอย่างน้อย 5-7 วัน ยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์ ถังหมัก หัวเชื้อ อาหารเลี้ยง ไม่ทัน ใจกับการใช้งานจริง
2.หมักแล้วไม่สามารถเก็บรักษาได้ ถ้าใช้ไม่หมด จะเน่าเสีย และเป็นสาเหตุการเกิดโรคต่อ
3. ความเข้มข้นไม่แน่นอน
4.การเกิดการ contaminate หรือการ ติดเชื้ออื่น แทน เช่น ฉีดไป โรคนี้หายเป็นโรคอื่นแทน

แบบที่ 2.แบบสำเร็จพร้อมใช้ แค่ใช้น้ำเปล่าหมัก
ข้อดี
1. สะดวก กว่าแบบที่ 1
ข้อเสีย
1.จะ ใช้ต้องแช่น้ำเปล่าหมักไว้ 6-12 ช.ม.
2.หมักแล้วไม่สามารถเก็บรักษาได้ ถ้าใช้ไม่หมด จะเน่าเสีย และเป็นสาเหตุการเกิดโรคต่อ
3. ความเข้มข้นไม่แน่นอน
4.การเกิดการ contaminate หรือการ ติดเชื้ออื่นแทน น้อยกว่าแบบที่ 1

แบบที่ 3 เหมือนแบบที่ 1

แบบที่ 4
ข้อดึ
1.ใช้เท่าไหนผสมเท่านั้น ปัญหารการหมักหมดไป
2.ความเข้มข้นแน่นอน ตามอัตราใช้
3.การ contaminate ไม่มี
4.เก็บรักษาได้นาน 8-12 เดือนในที่ร่มอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา ถ้าเก็บในตู้เย็น ได้ 2-3 ปี
ส่วนข้อเสีย ช่วยแนะนำด้วยนะครับหลังจากที่ได้ ลองใช้กันแล้ว

เปรียบเทียบ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ตามที่มีให้ใช้ในประเทศไทยไปแล้ว

"ไตรซาน" คือ เชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม (Trichoderma harzianum) ที่ถูกผลิตให้อยู่ในรูปผงเปียกน้ำ (WP) เข้มข้น 2x10^8 cfu/gm ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร

เทคนิค การรักษาโรคเข้าทางรากหรือมาจากทางดิน โดยใช้ ไตรซาน หลายรูปแบบการใช้งาน ตามแต่ที่ท่านเจอ

กรณีที่ 1

สำหรับท่าน ที่มีปัญหารากเน่าโคนเน่าอยู่ใน ขณะนี้ ให้ ใช้ ไตรซาน อัตรา 50กรัม/20ลิตร ถ้า ใช้ 2 ลิตร ก็ 5กรัม รด หรือ ฉีดพ่น บริเวณ ดิน และพุ่มที่ต้น เพื่อ ป้องกันและกำจัด โรคที่อยู่ในราก พอประมาณให้เปียกทั่ว เพื่อให้ เชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ได้ คุมพื้นที่ และ ซ้ำทุกๆ 5 - 7 วัน หลังจากอาการดีขึ้น อาจจะปรับเป็น 7-10 จนอาการหายสนิท แล้วปรับ เป็น 15-30 วันต่อครั้ง เพื่อคอยเติมเชื้อให้คุ้มกันระบบดิน ในกรณีที่เป็น หนัก อาจจะใช้เข็มข้นถึง 80-100กรัม/20ลิตรได้ครับ

กรณีที่ 2 
สำหรับท่าน ที่เริ่มปลูกใหม่หรือ ทำการ จะชำกิ่ง ก่อนชำกิ่ง ซัก 1 วัน ให้ รด ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ให้ทั่วบริเวณที่จะเพาะปลูก ให้ดูเหมือนลักษณะ น้ำที่ผสม ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม เปียกทั่วบริเวณ

กรณี 3
ท่านที่ต้องการ ส่งกิ่งหรือส่ง ต้น ใช้ 50-100กรัม/20ลิตร แช่ท่อนพัน หรือกิ่งที่จะจัดส่ง แล้วค่อยส่ง จะได้มี ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม คุม ก่อนส่งเพื่อลดการเกิดเชื้อราระหว่างการจัดส่ง
ถ้าเป็น ต้น ใช้ฉีดพ่นให้ทั่วต้น และรากหรือดิน พูดง่ายๆคือ ฉีด ให้ครอบคุมทั้งหมด เหมือนให้เชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ไปคุมเป็นเกราะป้องกัน

ส่วนในกรณี อื่นๆจะตอบให้เป็น เคสๆ ไปนะครับ ตาเริ่มปิดแล้ว 555

เทคนิคหรือ TIP&TRICK การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ สำคัญเป็นข้อแนะนำที่อยากให้ท่านๆ ได้ทำ
1. เพื่อให้ ได้ผลดี ท่านไหนมี ยาจับใบใส่ไปด้วยนะ เพราะ มันจะช่วยให้มันกระจายได้ดีไม่จับเป็นหยดน้ำ 
2.ควรฉีดพ่นช่วงเย็นๆ ไม่ควรฉีดตอนแดดจัด
3.ถ้าท่านไหนใช้น้ำประปา ควรพักน้ำเพื่อให้ คลอรีน สลายก่อน เพราะ คลอรีน จะ ฆ่าเชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ไปด้วย ให้พักน้ำ ซัก 1-3 คืน เพื่อให้คลอรีน สลายตัว
4.เกิดฝนตก อยากให้ท่าน ฉีดพ่น หลังฝนหยุด เพราะ ฝนจะพาโรคและความชื้นมา ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม ชอบชื้นๆเหมือนกัน
เทคนิคนี้ใช้ได้กับ ไตรโคเดอร์ม่า ได้ทุกชนิด

ขยายเชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า ฮาเซียนั่ม มาให้ดูกันเลย

ถาดแรก คือ เชื้อราไฟท้อป โธร่า แบบไม่มี ไตรโคเดอร์ม่า
ถาด 2 คือ มี เชื้อราไฟท้อป โธร่า จุดขาวด้านบน และ ด้านล่างคือ ไตรโคเดอร์ม่า สังเกตุว่า ไตรโคเดอร์ม่า จะ ทำการแทรกซึม กำจัดและคุมพื้นที่ ให้เชื้อราไฟท้อป โธร่า ไม่สามารถ ขยายได้และตาย
ถาด 3 คือ เหมือน ถาด 2 แต่ ความเข็มข้นต่างกัน ความเข้มข้น คืออัตรา การใช้ ว่าผสมเยอะผสมน้อย


ทดลองกับ โรคต้นเน่า เกิดจากเชื้อฟิวซาเรี่ยม
(Fusarium Stalk Rot)
ลักษณะอาการ


สังเกตพบว่าใบต้นที่เป็นโรคสลดสีเขียวอมเทาต่อมาจะไหม้แห้งตาย ลำต้นส่วนล่างไม่แข็งแรง จะมีลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม บริเวณแผลจะแห้งยุบตัวลง ลำต้นแตกหรือฉีกบริเวณเหนือดิน เมื่อผ่าดูจะพบเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุม บริเวณแผลภายในลำต้น (ไส้) จะมีลักษณะเป็นสีชมพูหรือม่วง ต่อมาลำต้นจะกลวงเพราะถูกเชื้อราย่อยสลาย เมื่อถูกลมพัดต้นหักล้มได้ง่าย


ทดลองกับ Colletotrichum สาเหตุโรคแอนแทรคโนส



 รูปนี้ คือรูปการทำงานของ ไตรโคเดอร์ม่า แบบ ขยาย ให้เห็นชัด

รูปแรก คือหลังจาก ใช้ ไตรโคเดอร์ม่า ไป 2 วัน ไตรโคเดอร์ม่าในรูปคือตัว T จะเข้าพันรัดเส้นใยเชื้อโรคในรูปคือตัว R หลังจากนั้น 6 วันคือ รูปที่ 2 สังเกตุว่า เชื้อโรคที่โดน ไตรโคเดอร์ม่า พัดรัดจะแห้งตาย เชื้อไตรโคเดอร์ม่า จะพัดรัดและ แทงเข้าไปในเชื้อโรค และแย่งดูดอาหารเชื้อโรคนั้นๆ

มาดูการทำงานของไตรโคเดอร์ม่า ทำลายโรค สเคลอโรเตียม


มีคำถามเพิ่มเติมสามารถ โพส ถามได้เลยครับ

รูปภาพพืชที่เป็นโรค จากเว็บ malaeng.com

view